Asteroid City: สัมผัสงานดนตรีจาก Alexandre Desplat กับท่วงทำนองที่คุณอาจจะไม่คุ้นเคย

| | ,

ดนตรีของ Asteroid City ถ่ายทอดความรู้สึกของโลกฝั่งตะวันตกในจินตนาการที่กว้างใหญ่ไพศาล ที่ไหนซักแห่งระหว่างวัชพืช นกโร้ดรันเนอร์และเมฆรูปเห็น ระหว่างตำนานคาวบอยอเมริกันและเรื่องเล่ามหัศจรรย์ของเอเลียนจากห้วงอวกาศ ความคิดเกี่ยวกับอวกาศและทะเลทรายผลักดันให้นักประพันธ์ Alexandre Desplat คิดโทนที่ลึกลับและสดใสของเรื่องขึ้นมา “มันไม่ได้เกิดขึ้นในห้วงอวกาศ แต่มันมีการปรากฏของอุกกาบาต มีอะไรบางอย่าง ที่มาจากนอกโลกน่ะ”

“แล้วพอผมนึกถึงทะเลทราย ผมก็พยายามจะพาตัวเองไปอยู่ในพื้นที่นั้น คุณจะได้ยินสายลม แล้วพอมีตึกอยู่ใกล้ๆ หรือสายไฟ มันก็จะมีเสียงกรุ๊งกริ๊งแปลกๆ ดังนั้น มันก็เลยเป็นหนึ่งในครั้งแรกๆ ที่ผมได้แต่งเพลงให้กับเวสก่อนที่จะได้เห็นอะไร ผมเล่นดนตรีนั้นให้เวสฟัง แล้วเขาก็ตื่นเต้นกับมัน และบอกว่า ‘ช่วยอะไรผมอย่างหนึ่งสิ แต่งมันหลายๆ เวอร์ชันเลย แล้วผมจะเอามันไปเปิดในกองถ่าย’ ซึ่งเขาก็ทำแบบนั้นจริงๆ”

เช่นเคย เขากับแอนเดอร์สันได้เปิดท่วงทำนองนั้นขึ้น แล้วก็แลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องเครื่องดนตรี เช่นแบนโจ, กล็อคเคนสปีล, เชเลสตา, ไวโอลิน, แมนโดลิน และบางครั้งก็มีเฟรนช์ฮอร์นและทูบา หรือ “มาผสมเครื่องดนตรีทุกชนิดเข้าด้วยกันแล้วสร้างเสียงอีกแบบกันเถอะ!” แทนที่จะใช้ดนตรีอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง เดสแพลทได้แรงบันดาลใจจากเรื่องราวและความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของตัวละคร สู่ความโหยหา ความสูญเสียและความโศกเศร้า “เมื่อฟังผิวเผินแล้ว มันฟังดูเนี้ยบ แปลกประหลาดและสนุกสนานเหลือเกิน แต่ท่ามกลางความโศกเศร้าของครอบครัว ที่สูญเสียคนรักและผู้เป็นแม่ ก็มีบางสิ่งที่ลึกซึ้งและสะเทือนอารมณ์ ซึ่งผมพยายามจะถ่ายทอดความรู้สึกนั้น การที่แม่ได้หายตัวไปไม่ใช่เรื่องจริงที่เด็กๆ จะเข้าใจได้ ที่เด็กคนไหนๆ จะเข้าใจได้”

เดสแพลทกล่าวว่า ขณะที่ดนตรีกระตุ้นความรู้สึกของสิ่งที่เราไม่รู้และสิ่งที่ไม่เป็นจริง ธีมของเรื่องก็ยังเป็นเครื่องนำทางที่ช่วยนำพาผู้ชมเข้าสู่โลกในจินตนาการของภาพยนตร์เรื่องนี้ จากเมืองสู่โรงละครและพาวนกลับไปอีกครั้ง “มันเป็นอะไรที่ล่องลอย เป็นเหมือนไอระเหยที่ลอยอยู่รอบตัวผมและพาผมไปสู่ห้วงอวกาศ” เขากล่าว “โน้ตสองตัวนี้จะพาคุณไปทุกที่ที่คุณต้องการ มันเป็นทำนองสั้นๆ ที่เหมือนการสะกดจิต”

ในการทำให้ดนตรีประกอบเรื่องนี้สมบูรณ์ Randall Poster ซูเปอร์ไวเซอร์ผู้ร่วมงานกับแอนเดอร์สันมานาน ได้ทดลองหว่านแหทางเสียงออกไปไกลๆ “ผมกับเวสส่งคำบอกใบ้และเพลงให้กันและกัน และผมก็ไล่ตามทุกอย่างในโลกใบนั้นที่เรากำลังสร้างกันขึ้นมา”

นั่นรวมถึง “Last Train to San Fernando” เพลงคาลิปโซที่ถูกนำเสนอออกมาในแบบ Skiffle โดย Johnny Duncan และ The Blue Grass Boys ในปี 1957 การผสมผสานแนวโฟล์ค บลูส์ คันทรี Bluegrass และแจ๊ส ซึ่งบ่อยครั้งจะใช้เครื่องดนตรีทำมืออย่างกระดานซักผ้า เหยือกน้ำ เบสอ่างน้ำ ซอจากกล่องซิการ์ และเลื่อยดนตรี บวกกับกีตาร์อะคูสติกและแบนโจ ได้เนรมิตวิถีชีวิตแบบคนจรที่อิสระเสรี สอดคล้องไปกับเสียงหวูดของรถไฟที่กำลังแล่นเข้ามา

“แนวเพลงสคิฟเฟิลเป็นเพลงรถไฟ” นักดนตรี Billy Bragg บอกกับ The Paris Review ว่านักดนตรีแนวโฟล์คหนุ่มสาวชาวอเมริกันในยุคนั้นมองไปทางอื่น แต่สำหรับวัยรุ่นอังกฤษรุ่นนั้น เพลงสกิฟเฟิลเป็นเหมือนระเบิดปรมาณู (ในปีเดียวกับที่ดันแคนบันทึกเสียงเพลงฮิตของเขา วัยรุ่นในลิเวอร์พูลที่ชื่อ จอห์น เลนนอน ก็ได้ก่อตั้งวงสคิฟเฟิลของเขาในชื่อ The Quarrymen แล้วก็มี พอล แม็คคาร์ทนีย์ ได้เข้าร่วมวงในเดือนตุลาคม และจอร์จ แฮร์ริสัน ก็ได้ร่วมวงในสองสามเดือนให้หลัง ในตอนที่ดันแคนมาแสดงในเมืองนั้น พวกเขาทุกคนต่างก็ไปดูการแสดงของเขาด้วย) แต่ปัจจุบันนี้ คุณไม่ค่อยได้ยินแนวเพลงสคิฟเฟิลแล้ว ในภาพยนตร์ก็ไม่มี เช่นเดียวกับธรรมเนียมที่ยาวนานของดนตรีคาวบอย พวกพรีคันทรีและเวสเทิร์น ซึ่งไม่ค่อยจะปรากฏในภาพยนตร์มากนัก โปสเตอร์กล่าว “สำหรับเวส มีความสนุกสนานมากมายเสมอเพราะเรามักจะสำรวจพื้นที่ดนตรีที่ไม่ค่อยจะมีคนสำรวจกันซักเท่าไหร่ ผมรู้สึกเสมอว่าภารกิจของผมคือการตามหาทุกอย่างเพื่อเอามาพิจารณา”

เสียงเวสเทิร์นคันทรีช่วงกลางศตวรรษ โดยเฉพาะยิ่งเสียงบาริโทนที่คร่ำครวญหวนไห้ของเทนเนสซี เออร์นีย์ ฟอร์ดและการครวญเพลงรักประสานเสียงของรอย โรเจอร์ส ที่ได้แรงบันดาลใจจากเพลง “Dear Alien” ที่แต่งโดยจาร์วิส ค็อกเกอร์และแอนเดอร์สัน วงคาวบอยในภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงค็อกเกอร์และมือกีตาร์ซู จอร์จี้ ที่บันทึกเสียงแบบสดๆ สำหรับส่วนที่เป็นหลังเวที/ละครเวทีของภาพยนตร์เรื่องนี้ โปสเตอร์ได้ฟังอีกเศษเสี้ยวหนึ่งของความเป็นอเมริกา นั่นคือภาพยนตร์มิวสิคัลของยุคสมัยนั้น โดยเฉพาะผลงานโดยเบ็ตตี้ คอมเดนและ อดอล์ฟ กรีน ดนตรีพวกนี้อยู่ระหว่างความโหยหวนของทะเลทรายและจินตนาการของละครเวที ได้ส่งเราไปยังโลกที่อยู่เหนือแคมป์ไฟขึ้นไปอีก

Asteroid City ฉาย 22 มิถุนายนนี้ เฉพาะที่ House Samyan เท่านั้น

Asteroid City | Official Trailer | Thai Sub | UIP Thailand

Asteroid City

Genre: science fiction romantic comedy-drama
Country: United State
Language: ภาษาอังกฤษ
Director: Wes Anderson
Screenwriter: Wes Anderson 
Story by: Wes Anderson, Roman Coppola
Producers: Wes Anderson, Steven Rales, Jeremy Dawson
Actors: Jason Schwartzman, Scarlett Johansson, Tom Hanks, Jeffrey Wright, Tilda Swinton, Bryan Cranston, Edward Norton, Adrien Brody, Liev Schreiber, Hope Davis, Stephen Park, Rupert Friend, Maya Hawke, Steve Carell, Matt Dillon, Hong Chau, Willem Dafoe, Margot Robbie, Tony Revolori, Jake Ryan และ Jeff Goldblum
Cinematographer: Robert Yeoman
Editor: Barney Pilling
Music: Alexandre Desplat
Running Time: 105 minutes
Production company: American Empirical Pictures, Indian Paintbrush
Distributors: Focus Features (United States) Universal Pictures (International) UIP Thailand

Previous

รวมอัลบั้มโปรดของ Laufey จากอัลบั้มแจ๊สสุดหวานสู่อัลบั้มป๊อปสุดฮิต

เตรียมตัวพบกับ Ruby Gillman, Teenage Kraken รูบี้ สาวน้อยอสูรทะเล 29 มิถุนายนนี้

Next