สิ้นสุดการรอคอยกับอัลบั้ม ‘PYRADISE’ อีกหนึ่งก้าวสำคัญของ Pyra ที่จะพลิกโฉมวงการเพลงอีกครั้ง กับแนวเพลงที่เธอเป็นผู้กำหนดเองอย่าง “Dystopian Pop” ที่ต้องการนำเสนอปัญหาสังคม การเมือง และวัฒนธรมผ่านผลงานเพลงในเชิงศิลปะ สื่อสารผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มทุกช่องทาง พร้อมให้ทุกคนได้ฟังพร้อมกันในวันศุกร์ที่ 19 เมษายน นี้เป็นต้นไป
‘PYRADISE’ คือการปลดแอก และ อิสระภาพ ดีเอ็นเอความกบฏ พังก์ ความไม่ประนีประนอม จำลองโลกของดิสโทเปียนในปี 2084 บอกเล่าการเดินทางของฮีโร่หญิง ณ เกาะแห่งหนึ่ง เพื่อกลับมากู้อิสระภาพจากอำนาจรัฐภายใต้การปกครองระบอบเผด็จการ
อัลบั้มนี้ถือเป็นการจำลองเรื่องราวของเกาะดิสโทเปีย ที่มีการปกครอบระบอบเผด็จการโดยผู้นำสูงสุด ที่การเสพย์งานดนตรีและศิลปะเป็นสิ่งผิดกฏหมาย ไพราคือผู้นำฝ่ายค้านที่จะเข้ามาต่อสู้กับระบอบเผด็จการ การกดขี่ของอำนาจรัฐ ซื่งเนื้อหาแต่ละเพลงในอัลบั้มนี้จะเล่าถึงการต่อสู้ ความทุกข์ทรมานที่นักสู้หญิงคนนี้กำลังเผชิญ
ซิงเกิลหลักในอัลบั้มคือ ‘Wet’ แนวดนตรีอินสไปร์ ป๊อป การาจ จากอังกฤษ เพลงเชิงสัญลักษณ์ที่ไพราต้องการประกาศตอกย้ำความชัดเจนในพลังแห่งผู้หญิง ความท้าทายทางเพศสภาพผ่านเนื้อเพลง เนื้อหาของเพลงเป็นเชิญสัญลักษณ์ของผู้นำ สะท้อนการเดินทางของตัวไพร่าเองที่ต้องก้าวข้ามความท้าทาย และการเผชิญหน้าหลากหลายรูปแบบของชีวิต ที่ต้องเอาชนะความขัดแย้งในครอบครัว ความไม่เท่าเทียมในธุรกิจวงการเพลง และ ความอยุติธรรมของรัฐบาลไทย เนื้อหาของ ‘Wet’ คือการแสดงออกถึงพลังความขบถ ไม่ประนีประนอม แรงบันดาลใจจากสัญชาตญานของตัวเองที่ฝ่าฝืนบรรทัดฐานทางสังคม และ มุ่งมั่นในการเดินตามเส้นทางของตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
เนื้อหาของเพลง ‘Wet’ คือจิตวิญญานของผู้หญิง การแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในตัวผู้หญิงที่ตะเกียกตะกายว่ายขึ้นสู่ผิวน้ำ ถึงแม้ว่าจะถูกโยนลงน้ำไปแล้ว เป็นการเปรียบเปรยถึงการลุกขึ้นสู้ เอาชนะกับความทุกข์ยาก การโดนกดขี่จากอำนาจมืด ทวงคืนความเท่าเที่ยม และ เสรีภาพ ซิงเกิล ‘Wet’ จะถูกปล่อยให้ทุกคนใด้ชมและฟังหลังเทศกาลสงกรานต์ในวันที่ 16 เมษายน เป็นต้นไป ทางยูทูปของไพร่า
จากเรื่องจริงสู่ผลงานเพลงของไพรา และ อัลบั้มนี้มีเป้าหมายไม่เพียงต้องการแสดงออกถึงการต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมในสังคม แต่ยังมุ่งหวังปลุกระดมกลุ่มแฟนคลับในเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งหลายเพลงที่ได้ปล่อยออกมาแล้วก่อนหน้านี้ อย่าง ‘petrol & matches’ มาจากเรื่องราวที่ไพร่าถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่รัฐบาลทหารจับตามทอง ทำให้เธอต้องโยกย้ายไปใช้ชีวิตในลอนดอนชั่วขณะหนึ่ง หรือเพลง ‘cut my tongue’ แนวเพลง Hyperpop ที่พูดถึงการที่เธอมีรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ และเพลง ‘new bitch’ ที่เล่าถึงความอยุติธรรมของค่ายเพลงใหญ่ค่ายหนึ่ง และทิศทางของวงการเพลงไทย
ไพราถือเป็นอีกหนึ่งนักเคลื่อนไหวทางสังคมผ่านงานศิลปะในประเทศไทย ความพยายามในการต่อสู้เรื่องความไม่เท่าเทียม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ความทะเยอทะยานผู้หญิงคนหนึ่งที่ต้องเปลี่ยนแปลงโลกให้น่าอยู่เพื่อเจเนอเรชั่นต่อๆ ไปในอนาคต เธอได้รับการยอมรับ และเคารพจากหลากหลายเวทีนานาชาติ อาทิ Forbes, NY Times, NME, Vice, TEDx, Paper, Mixmag, MTV, Dazed และ i-D การแสดงบนเวทีอันน่าทึ่งของเธอ ทำให้เธอได้รับตำแหน่ง “festival’s favorite” จากเฟสติวัลดนตรีอันทรงเกียรติอย่าง Burning Man (US), The Great Escape (UK), และ Garden Beats (SG).